|
อุทยานกล้วยไม้ไทยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประวัติความเป็นมาของโครงการ
เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร
แก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2535
และหลังจากพระราชทานปริญญาบัตรเสร็จใน เวลา 17.00 น.
ได้เสด็จเปิดอุทยานกล้วยไม้ไทยฯ ซึ่งทางมหาวิยาลัยแม่โจ้ได้จัดสร้างถวายในชื่อ
“อุทยานกล้วยไม้ไทยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ และรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทยให้เยาวชน นิสิต
นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มาศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ไทย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| - บทสรุปผู้บริหาร
ผลจากความสำเร็จของการจัดงานกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่
20-26 มกราคม 2535 ณ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
ได้จัดถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 60 พรรษา
รัฐบาลอนุมัติให้สถาบันฯ จัดตั้งศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับขึ้น เมื่อวันที่
15 กันยายน 2535
และได้อนุมัติงบประมาณดำเนินงานจัดสร้างอาคารศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
ในปีงบประมาณ 2536-2539 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 7
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ให้เป็นศูนย์บริการวิชาการ การจัดประกวด
จัดแสดงนิทรรศการกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับระดับชาติ นานาชาติ และระดับโลก
เพื่อเป็นการสนับสนุนธุรกิจการส่งออกกล้วยไม้ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
-
ปรัชญา
งานดี บริการเด่น เน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์กลางด้านกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับในระดับชาติ
- พันธกิจ
1.สนับสนุนการเรียนการสอน งานวิจัย และสร้างนวัตกรรม 2.ทำการวิจัย
การผลิต และสร้างนวัตกรรมด้านกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
3.การพัฒนาผลผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต
4.สร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโปร่งใส
5.ศูนย์กลางการจัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม และจัดนิทรรศการต่าง ๆ
-
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน งานวิจัย
และสร้างนวัตกรรม
2.เพื่อเป็นศูนย์เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
3.เพื่อเป็นศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับให้แก่นิสิตนักศึกษา
ประชาชน และผู้ที่สนใจ
4.เพื่อเป็นศูนย์การศึกษา
วิจัยด้านการจำแนกตรวจสอบสายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์ใหม่
ให้มีความเหมาะสมแก่สภาพสิ่งแวดล้อมและตลาด
5.เพื่อเป็นศูนย์กลางการประชุม สัมมนา
ฝึกอบรมและจัดนิทรรศการต่าง ๆ
- กลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์
1.เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อส่งออก 2.ภาคเอกชนที่ทำธุรกิจกล้วยไม้ส่งออกเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับนานาชาติ
เพิ่มรายได้จากการส่งออก 3.หน่วยงานภาครัฐที่จะนำองค์ความรู้ไปใช้เพื่องานวิจัยและพัฒนา
เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้นักเรียน นักศึกษา
และเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว 4.มหาวิทยาลัย
เป็นแหล่งพันธุกรรมและแลกเปลี่ยนพันธุกรรมในระดับนานาชาติในการเพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้พันธุ์ใหม่
ๆ เพื่อความต้องการของตลาดและแน้วโน้มของตลาดในอนาคต
5.มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลสร้างอาชีพแก่ชุมชน
โดยยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- สถานที่ดำเนินโครงการ
1.
อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 2.
ในบริเวณสวนพฤกษศาสตร์ร้อย ปี สมเด็จย่า
สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวน 70.61 ไร่
3. อุทยานกล้วยไม้ไทยเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
- หน่วยงานที่รับผิดชอบ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ร่วมกับ
สำนักพระราชวัง(สำนักงาน กปร.)
,
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ , กรมชลประทาน
, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล , กรมทางหลวงชนบท , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ,
ศูนย์ประสานงานพัฒนาเกษตรที่สูง , เทศบาลเมืองแม่โจ้ , เทศบาลตำบลป่าไผ่ ,
เทศบาลตำบลหนองหาร
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ด้านการวิจัย
-เป็นแหล่งเสริมสร้างศักยภาพงานวิจัยและพัฒนากล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมในเวทีโลก
ด้านการพัฒนา -เป็นต้นแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรมที่ครบวงจรและทันสมัยในระดับสากลซึ่งสามารถใช้ขยายการผลิตกล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและแข่งขันกับนานาชาติ
-เป็นศูนย์กลางรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย
ด้านการส่งเสริม
-เป็นแหล่งสร้างงานให้กับชุมชน
เทศบาลเมืองแม่โจ้ เทศบาลตำบลป่าไผ่ เทศบาลตำบลหนองหาร
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจ๊อม จำนวน 44,300 คน รวม 18,800 หลังคาเรือน
(กรมการปกครอง: 2552)
เขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป -เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเรียนรู้ของ
เกษตรกร นักศึกษา นักเรียน
ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปในการผลิตกล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภายในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
-สร้างเครือข่ายองค์กรผลิตกล้วยไม้ที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อการส่งออกและภายในประเทศ
-เป็นการสร้างรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
-สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจการส่งออกกล้วยไม้ของประเทศไทยให้ยั่งยืน
|
|
-
ประมวลภาพกิจกรรมที่ดำเนินงานเกี่ยวกับกล้วยไม้ ม.แม่โจ้
|
|
|
|
คณะกรรมการดำเนินงานศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
|